เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 มือใหม่ก็ใช้ได้ !
เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 มือใหม่ก็ใช้ได้ !
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์มาใช้สำหรับเชื่อมชิ้นงานโลหะด้วยตัวเอง การเลือกเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หากผู้ใช้งานเพิ่งเริ่มหัดเชื่อมชิ้นงาน เนื่องจากเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ที่วางขายตามท้องตลาดนั้นมีให้เลือกหลากหลายแบบ และใช้กับรูปแบบชิ้นงานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจคุณสมบัติของเครื่องให้ดี อีกทั้งอุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกับเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ยังต้องสามารถใช้งานร่วมกันได้อีกด้วย
วันนี้เราจะมาอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ให้ทุกคนได้ทราบกัน พร้อมทั้งแนะนำวิธีการเลือกเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ตามประเภทและลักษณะการใช้งาน เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของทุกคน นอกจากนี้ ยังรวบรวม เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ที่น่าสนใจ พร้อมระบุจุดเด่นของแต่ละเครื่องมาฝากทุกคนด้วย
การเลือกเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์จำเป็นต้องคำนึงถึงประเภทของเครื่องเชื่อม ความเหมาะสมในการใช้งาน ความซับซ้อนของการตั้งค่าภายในเครื่อง รวมถึงงบประมาณของผู้ใช้อีกด้วย หากไม่ตรวจสอบรายละเอียดให้ดีก่อนผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่เป็นตามที่คาดหวังไว้ค่ะ
1. เลือกตามประเภทของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า
ก่อนที่จะเลือกซื้อเครื่องเชื่อมประเภทต่าง ๆ เราต้องรู้จักจุดเด่นและข้อจำกัดของเครื่องเชื่อมแต่ละประเภท เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งรายละเอียดของแต่ละแบบจะแตกต่างกัน
ผู้ที่สนใจในงานเชื่อมจะต้องเลือกใช้เครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณสมบัติของการใช้งาน หรือคุณภาพของชิ้นงานเชื่อม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ ความหนาของชิ้นงาน และอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ที่นิยมใช้ในท้องตลาดก็จะเป็นเครื่องเชื่อม ประเภท MMA (Manual Metal Arc Welding)
ซึ่งเครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ เป็นกระบวนการโลหะให้ติดกัน โดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์(Electrode)กับชิ้นงาน ซึ่งเครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย และเหมาะสำหรับช่างมือใหม่ หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียม
ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่น อาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป การเชื่อมไฟฟ้าควรเลือกใช้ลวดเชื่อม และ ปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิด ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าตู้เชื่อมระบบหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายลำบาก
2. เลือกเครื่องเชื่อมไฟฟ้าตามลักษณะใช้งาน
ใช้รับงานแบบมืออาชีพ สำหรับช่างเชื่อมมืออาชีพมีทักษะในการเชื่อมที่สูง ต้องการเน้นที่คุณภาพของรอยเชื่อมและความรวดเร็ว การเลือก "เครื่องเชื่อม MIG" จะช่วยประหยัดเวลาได้ เนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อย ๆ นอกจากนี้ ลักษณะการเชื่อมชิ้นงานที่มีลักษณะบางจำเป็นต้องใช้ความประณีตสูง การเลือกใช้ "เครื่องเชื่อมอาร์กอน" จึงเหมาะสมมากกว่าเครื่องเชื่อมประเภทอื่น แถมยังได้แนวเชื่อมที่สวยงามและมีคุณภาพอีกด้วย
ใช้เชื่อมงานทั่วไป สำหรับมือสมัครเล่นและมืออาชีพ สำหรับกรณีนี้เป็นการใช้งานที่ไม่ต่อเนื่องและไม่จำเป็นต้องใช้รอยเชื่อมที่มีคุณภาพสูง รวมถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ไม่ชำนาญ ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าจึงไม่จำเป็นต้องมีราคาสูง แต่ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับชิ้นงาน น้ำหนักของเครื่องที่ไม่มากจนเกินไป เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก อีกทั้งยังใช้ร่วมกับชิ้นงานได้หลากหลาย การเลือก "เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์" จึงจัดเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบันช่างเชื่อมที่มีความชำนาญก็มักหันมาใช้เครื่องเชื่อมประเภท เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เนื่องจากเป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้งานง่าย สะดวกต่อการใช้งานทุกประเภท และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย หากต้องทำงานเชื่อมนอกสถานที่
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเชื่อมแบบไหนก็ตาม ผู้ใช้งานควรศึกษาวิธีการใช้และการตั้งค่าต่าง ๆ ของเครื่องเชื่อมให้ละเอียด เพื่อความปลอดภัยในขณะใช้งาน สำหรับบทความนี้ แอดจะขอนำเสนอเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ช่างมืออาชีพนิยมใช้กัน และมือใหม่ก็ใช่ได้
เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี มือใหม่ก็ใช้ได้
หลังจากที่เราได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์เบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า ตู้เชื่อมไฟฟ้าที่น่าสนใจ มาดูกันว่าจะมีเครื่องเชื่อมแบบไหนที่จะเหมาะกับการใช้งานของคุณบ้าง?
เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อWELPRO
เป็นเครื่องเชื่อมที่เกิดมาคู่ช่างมืออาชีพ และเหมาะกับเนื้องานที่มีขนาดใหญ่เลยก็ว่าได้ เมื่อเราไปเดินดูตามท้องตลาด หรือแม้กระทั่งหาในอินเทอร์เน็ต เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อWELPRO ต้องขึ้นมาอันดับ1 ตลอดกาล เนื่องจากเป็นเครื่องเชื่อมที่แข็งแรง ทนทาน เครื่องเล็กกะทัดรัด ง่ายต่อการขนย้ายเมื่อมีการทำงานนอกสถานที่ และตัวเครื่องมาพร้อมประกันที่มากสุดถึง 3 ปีเลยทีเดียว มาดูกันว่า เครื่องเชื่อมยี่ห้อWELPRO ที่ช่างมืออาชีพนิยมใช้นั้น มีอะไรบ้าง
เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ WELPRO WELARC 140 IGBT
จุดเด่น
เทคโนโลยี IGBT ให้กระแสเชื่อมที่มากขึ้น
ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา พร้อมกระเป่าไว้เก็บเครื่องเชื่อมอย่างดี
รับประกันตัวเครื่องสูงสุดถึง 3 ปี
ข้อมูลทางเทคนิค
รุ่น : WELARC 140 IGBT
กระแสไฟเชื่อม : 10-140 Amp
ความสามารถในการทำงาน : 60%
แรงดันไฟฟ้า : 220+/-10% V
กระแสไฟเข้าสูงสุด : 5.3 KVA
ความถี่ : 50Hz/60Hz
แรงดันขาออกขณะไร้ภาระ : 67 V
สัมประสิทธิ์ทางไฟฟ้า : 0.93
ขนาดลวดเชื่อม : 2.6-3.2 mm.
น้ำหนัก : 5 Kg.
ขนาด ย x ก x ส : 315x125x224 mm.
2. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ WELPRO WELARC 160 IGBT
จุดเด่น
กระแสเชื่อม 160 แอมป์เต็ม
สายเชื่อมยาว 7 m สายดินยาว 5 m
ใช้งานได้ต่อเนื่องขนาดลวด 2.6-3.2 mm.
รับประกันตัวเครื่องนานสูงสุดถึง 3 ปี
ข้อมูลทางเทคนิค
รุ่น : WELARC 140 IGBT
กระแสไฟเชื่อม : 10-140 Amp
ความสามารถในการทำงาน : 60%
แรงดันไฟฟ้า : 220+/-10% V
กระแสไฟเข้าสูงสุด : 5.3 KVA
ความถี่ : 50Hz/60Hz
แรงดันขาออกขณะไร้ภาระ : 67 V
สัมประสิทธิ์ทางไฟฟ้า : 0.93
ขนาดลวดเชื่อม : 2.6-3.2 mm.
น้ำหนัก : 5 Kg.
ขนาด ย x ก x ส : 315x125x224 mm.
3. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ WELPRO WELARC 200 IGBT
จุดเด่น
กระแสเชื่อม200 แอมป์เต็ม
สายเชื่อมยาว 7 m สายดินยาว 5 m.
ใช้งานได้ต่อเนื่องขนาดลวด 2.6-4.0 mm.
มีระบบ ARC FORCE ช่วยเพิ่มกระแสเชื่อมไม่ให้ลวดเชื่อมติดชิ้นงาน
รับประกันตัวเครื่องสูงสุดถึง 3 ปี
ข้อมูลทางเทคนิค
รุ่น : WELARC 200
กระแสไฟเชื่อม : 20-220 Amp
ความสามารถในการทำงาน : 60%
แรงดันไฟฟ้า : 220+/-10% V
กระแสไฟเข้าสูงสุด : 7 KVA
ความถี่ : 50Hz/60Hz
แรงดันขณะไร้ภาระ : 62 V
สัมประสิทธิ์ทางไฟฟ้า : 0.93
ขนาดลวดเชื่อม : 2.6-4..0 mm.
น้ำหนัก : 12.5 Kg.
ขนาด ย x ก x ส : 470x210x375 mm.
เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อZINSANO ZMMA
เครื่องเชื่อมรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมกับดีไซน์ใหม่ สวยงามทันสมัย ที่มาพร้อมกับหน้าจอ Display Digital ฟังก์ชั่นที่ครบหลากหลาย เหมาะกับงานขนาดกลางถึงหนัก สร้างขึ้นมาเพื่อมือสมัครเล่นหรือมือใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งมีระบบที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบโจทย์ช่างได้มากขึ้น คือ
- ARD ที่ช่วยลดแรงดันไฟหน้าเครื่อง เมื่อไม่ใช้งาน
- HOT START ที่ช่วยการเชื่อมในจังหวะแรก ให้ติดง่ายมากขึ้น
- ANTI STICK ที่ป้องกันการติดของลวดเชื่อมกับชิ้นงาน
ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กัน 2 รุ่น คือ
1. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อZINSANO ZMMA140
จุดเด่น
รูปทรงดีไซน์ สวยงามทันสมัย มีฟังก์ชั่น Display หน้าจอ Digital ฟังก์ชั่นที่ครบหลากหลาย
ชุดสายเชื่อมทองแดงแท้ พร้อม Welpro Super Connector เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น
กระแสชื่อมสูงเต็มตามสเป็ค 140R มีความสเถียร อาร์กต่อเนื่องคงที่ดีไม่มีสะดุด
ข้อมูลทางเทคนิค
แรงดันไฟฟ้า: 1Ph 220V10% / 50-60 Hz
กระแสไฟเชื่อม: 10-140 Amp
กำลังไฟเข้าสูงสุด: 5.0 KVA / 25.6A
ความสามารถในการทำงาน: 60%
แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายขณะไร้ภาระ: 65V
เพาเวอร์แฟกเตอร์: 0.93 PF
ขนาดลวดเชื่อม: 1.6 - 3.2 มม.
ขนาดรวมกล่อง: 32.5 x 46 x 37.5 ซม.
น้ำหนักรวมกล่อง: 10.5 กก.
รับประกัน (ตามเงื่อนไขผู้ผลิต) 2 ปี: อุปกรณ์มาตรฐาน
2. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อZINSANO ZMMA160
จุดเด่น
รูปทรงดีไซน์ สวยงามทันสมัย มีฟังก์ชั่น Display หน้าจอ Digital ฟังก์ชั่นที่ครบหลากหลาย
ชุดสายทองแดงแท้ พร้อม Welpro Super Connector เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น
ช่องระบายอากาศรอบตัว
ฟังก์ชั่น VRD
กระแสเชื่อมสูงเต็มตามสเป็ก 160A มีความสเถียร อาร์คต่อเนื่องคงที่ไม่มีสะดุด
ข้อมูลทางเทคนิค
แรงดันไฟฟ้า: 1Ph 220V + 10% / 50-60 Hz
กระแสไฟเชื่อม: 10-160 Amp
กำลังไฟเข้าสูงสุด: 5.3 KVA / 26.4A
ความสามารถในการทำงาน: 60%
แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายขณะไร้ภาระ: 75V
เพาเวอร์แฟกเตอร์: 0.93 PF
ขนาดลวดเชื่อม: 1.6-4.0 มม.
ขนาดรวมกล่อง: 170x410x290 mm.
น้ำหนักรวมกล่อง: 7.4 กก.
รับประกัน (ตามเงื่อนไขผู้ผลิต) 2 ปี: อุปกรณ์มาตรฐาน
เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อWEL-D MMA
เครื่องเชื่อมที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด เหมาะกับงานขนาดเล็ก และละเอียด ซึ่งมาพร้อมกับ TIG LIFT ที่จะทำให้งานเชื่อมของคุณสวย และละเอียดขึ้น และมีระบบ ARD ที่ช่วยลดแรงดันไฟหน้าเครื่อง เมื่อไม่ใช้งานอีก
1. เครี่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อWEL-D MMA 140D
จุดเด่น
VRD ลดแรงดันไฟหน้าเครื่องขณะไม่ได้ทำการเชื่อม เพื่อป้องกันไฟดูดช่างเชื่อม
Anti stick ตัดกระแสเชื่อมลงทันทีที่ลวดเชื่อมติดชิ้นงาน
สามารถเชื่อมงานต่อเนื่องดดยใช้ลวดเชื่อม 1.6-2.6 มม. ได้อย่าง Smooth & Stable
ข้อมูลทางเทคนิค
แรงดันไฟฟ้า Input Power (Volt) : 1ph 220V 50Hz +- 15%
กระแสไฟเชื่อม Output Current (Amp) : 10-120A
ความสามารถในการทำงาน Duty Cycle : 35%
กำลังไฟสูงสุด Max input Capacity (kVA/A) : 5.5kVA/25A
แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายขณะไร้ภาระ No-Load Voltage : 82V/14V
เพาเวอร์แฟกเตอร์ Power factor : 0.85
ขนาดลวดเชื่อม Diameter of Rod (mm) : 1.6-2.6 mm
ระดับความเป็นฉนวน Insulation class : F
น้ำหนักเฉพาะเครื่อง (kg) Net Weight : 3.3kg
ขนาดตัวเครื่อง(WxLxH) Dimensions Machine : 13.5x30x21.5 mm.
2. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อWEL-D MMA 160Dจุดเด่น
VRD ลดแรงดันไฟหน้าเครื่องขณะไม่ได้ทำการเชื่อม เพื่อป้องกันไฟดูดช่างเชื่อม
Anti-stick ตัดกระแสเชื่อมลงทันทีที่ลวดเชื่อมติดชิ้นงาน
สามารถเชื่อมงานต่อเนื่องดดยใช้ลวดเชื่อม 1.6-3.2 มม. ได้อย่าง Smooth & Stable
ข้อมูลทางเทคนิค
แรงดันไฟฟ้า Input Power (Volt) : 1ph 220V 50Hz +- 15%
กระแสไฟเชื่อม Output Current (Amp) : 10-140A
ความสามารถในการทำงาน Duty Cycle : 35%
กำลังไฟสูงสุด Max input Capacity (kVA/A) : 7.0kVA/32A
แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายขณะไร้ภาระ No-Load Voltage : 82V/14V
เพาเวอร์แฟกเตอร์ Power factor : 0.85
ขนาดลวดเชื่อม Diameter of Rod (mm) : 1.6-3.2 mm.
ระดับความเป็นฉนวน Insulation class : F
น้ำหนักเฉพาะเครื่อง (kg) Net Weight : 3.59 kg.
ขนาดตัวเครื่อง(WxLxH) Dimensions Machine : 13.5x30x21.5 mm.
3. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อWEL-D MMA 200D
จุดเด่น
VRD ลดแรงดันไฟหน้าเครื่องขณะไม่ได้ทำการเชื่อม เพื่อป้องกันไฟดูดช่างเชื่อม
Anti-stick ตัดกระแสเชื่อมลงทันทีที่ลวดเชื่อมติดชิ้นงาน
สามารถเชื่อมงานต่อเนื่องดดยใช้ลวดเชื่อม 1.6-3.2 มม. ได้อย่าง Smooth & Stable
ข้อมูลทางเทคนิค
แรงดันไฟฟ้า Input Power (Volt) : 1ph 220V 50Hz +- 15%
กระแสไฟเชื่อม Output Current (Amp) : 10-160A
ความสามารถในการทำงาน Duty Cycle : 35%
กำลังไฟสูงสุด Max input Capacity (kVA/A) : 7.48kVA/34A
แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายขณะไร้ภาระ No-Load Voltage : 82V/14V
เพาเวอร์แฟกเตอร์ Power factor : 0.85
ขนาดลวดเชื่อม Diameter of Rod (mm) : 1.6-4.0 mm.
ระดับความเป็นฉนวน Insulation class : F
น้ำหนักเฉพาะเครื่อง (kg) Net Weight : 3.45 kg.
ขนาดตัวเครื่อง(WxLxH) Dimensions Machine : 13.5x30x21.5 mm.
หากคุณต้องการเครื่องเชื่อมที่ตรงกับถูกใจ เหมาะสมกับชิ้นงาน และมีอายุการใช้งานที่นาน ก็ควรเลือกเครื่องเชื่อมที่เหมาะสม หรือหากอ่านถึงบรรทัดแล้ว ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือต้องการผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาแนะนำทั้งก่อนซื้อ และหลังซื้อ เรานพดลพานิชยินดีให้บริการ เพราะทางเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเชื่อมที่พร้อมจะให้คำปรึกษาแนะนำเป็นอย่างดี